เวลา: 01/02/2024คลิกที่ตัวเลข: 1728
วันที่ 20 เดือนพฤศจิกายน ปีค.ศ.2023 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(UNEP)ประกาศ 'รายงานช่องว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีค.ศ.2023 : ทำลายสถิติ อุณหภูมิเพิ่มถึงจุดที่ไม่เคยมีมาก่อน โลกไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงเป้า" รายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าประเทศต่างๆ ต้องใช้มาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มงวดกว่าที่กำหนดไว้ใน"ความตกลงปารีส" ไม่เช่นนั้น เราจะเผชิญกับภาวะโลกร้อนโดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2.5°C~2.9° ภายในปีค.ศ.2030 นอกจากนี้ การปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วโลกจะต้องลดลง 28%~ 42% ภายในปีค.ศ.2030 ถึงสามารถบรรลุเป้าหมายใน"ความตกลงปารีส"ในการควบคุมภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5°C ถึง 2°C รายงานฉบับนี้เพื่อรณรงค์ให้ทุกประเทศพัฒนาสู่สังคมคาร์บอนต่ำและให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงพลังมากขึ้น
รายงานนี้ประกาศยังไม่ถึงหนึ่งเดือน ประเทศจีนได้ ยื่น"รายงานเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 4 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน"และ"รายงานอัปเดตทุก 2 ปีครั้งที่ 3 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสาธารณรัฐประชาชนจีน"ต่อสำนักเลขาธิการของ"อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ" รายงานทั้งสองฉบับสะท้อนถึงการดำเนินการตามนโยบายของจีนและความคืบหน้าในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในช่วงแผน 5 ปีครั้งที่ 13 อย่างครอบคลุม แสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของจีนในฐานะประเทศใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ
ประกาศชี้ให้เห็นว่า ในฐานะที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศจีนต่อต้านกับความยากลำบาก มุ่งเน้นที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงอย่างมาก ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพ ในปีค.ศ. 2020 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมของจีนลดลง 48.4% เมื่อเทียบกับปีค.ศ. 2005 พลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิลคิดเป็น 15.9% ของการใช้พลังงานทั้งหมด ปริมาณการปลูกในป่าไม้เกิน 17.5 พันล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่เกินเป้าหมายของ “แผน 5 ปีครั้งที่ 15 และทำเกินเป้าหมายที่ประกาศต่อสังคมระหว่างประเทศในปีค.ศ. 2009 ว่าด้วย"ภายในปีค.ศ. 2020 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศจะลดลง 40%-45% เมื่อเทียบกับปีค.ศ. 2005 พลังงานที่ไม่ใช่ฟอสซิลคิดเป็นประมาณ 15% ของการใช้พลังงานปฐมภูมิ การเพิ่มปริมาณพื้นที่ป่าไม้มากขึ้น 1.3 พันล้านลูกบาศก์เมตรเมื่อเทียบกับปีค.ศ. 2005"และเป้าหมายอื่นๆ ได้วางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายของประเทศ
การแข่งขันรอบใหม่ระหว่างประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้ว : การปล่อยก๊าซคาร์บอน
การปล่อยก๊าซคาร์บอนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมโลก นับตั้งแต่มีการเสนอการปล่อยก๊าซคาร์บอนอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการประชุมสภาพภูมิอากาศปารีสปีค.ศ.2015 ประเทศที่พัฒนาแล้วก็ส่งเสริมแนวคิดนี้เป็นวิธีสำคัญในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก สำหรับเรื่องนี้ประเทศอื่นๆทั่วโลกก็ตอบรับเช่นกัน จนถึงปีค.ศ.2022 มากกว่า 120 ประเทศทั่วโลกได้ตอบสนองและมุ่งเน้นเป้าหมาย"ความเป็นกลางทางคาร์บอน" ปีค.ศ.2022 ประเทศจีนได้เสนอเป้าหมาย"คาร์บอนคู่" : ถึงปีค.ศ.2030 บรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้ถึงจุดสูงสุด บรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปีค.ศ.2060 (นั่นคือปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ดูดซับ ดักจับ และกักเก็บ) เว็บไซต์ Carbon Brief เผยแพร่รายงานที่ระบุว่าจีนเป็นประเทศใหญ่ด้านพลังงานหมุนเวียน ในด้านพลังงานสีเขียว การทำเหมืองแร่โลหะและแร่ธาตุ และเทคโนโลยีทำความสะอาดประเทศจีนไม่เพียงแต่จะนำหน้าทวีปเอเชีย แต่จะนำหน้าทั่วโลกด้วย การปล่อยก๊าซคาร์บอนของจีนมีแนวโน้มที่จะสูงสุดในปีค.ศ.2023 และมีแนวโน้มลดลงเริ่มจากปีค.ศ.2024
ประเทศพัฒนาแล้วใช้ใช้ “การประชุมระดับโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา” ที่กรุงริโอ เด จาเนโร เมื่อปีค.ศ. 1992 เป็นสัญลักษณ์ เปิดตัวในกระแสของ "การทูตด้านสิ่งแวดล้อม" แม้ว่าความพยายามของประเทศที่พัฒนาแล้วในการ "ปกป้องโลก" สมควรได้รับความเคารพ แต่การพัฒนา "การปล่อยก๊าซคาร์บอน" ในปัจจุบันยังผสมผสานกับเล่ห์เหลี่ยมที่"ไม่สามารถอธิบายได้"บางอย่าง นั่นก็คือใช้การใช้ "การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน" เป็นข้ออ้างในการจำกัดการพัฒนาที่ถูกต้องของประเทศกำลังพัฒนา โลกจำเป็นต้องได้รับการปกป้อง แต่สิ่งนี้ทุกประเทศควรรับผิดชอบร่วมกัน และจะสำเร็จได้ด้วยการพัฒนาเท่านั้นและไม่สามารถยุติการพัฒนาของบางประเทศได้
หลายปีที่ผ่านมา เดนมาร์กและเยอรมนีได้ประกาศว่าจะละทิ้งเป้าหมาย "การปล่อยก๊าซคาร์บอน" ประเทศอังกฤษก็ยกเลิกเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนในปีค.ศ.2035 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ปีค.ศ.2017 ทรัมป์ได้ประกาศถอนตัวของสหรัฐฯ ออกจาก"ข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปารีส"ในสวนกุหลาบของทำเนียบขาว แม้ว่าประธานาธิบดีไบเดนแห่งสหรัฐอเมริกาจะประกาศในวันแรกของการเข้ารับตำแหน่งในปีค.ศ.2021 ว่าสหรัฐฯ จะกลับคืนสู่"ข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปารีส" การประเมินเบื้องต้นของ RHG: หากสหรัฐอเมริกาต้องการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศปี 2030 ที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีส สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉลี่ย 6.9% ต่อปีระหว่างปี 2024 ถึง 2030 ซึ่งเป็นสามเท่าของ 1.9% การลดการปล่อยก๊าซในปีค.ศ.2023
เมื่อมองย้อนกลับไปในรอบแรกของ "การทูตด้านสิ่งแวดล้อม" ประเทศตะวันตกบังคับให้ประเทศกำลังพัฒนาลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและลดปริมาณคาร์บอน เมื่อประเทศกำลังพัฒนามุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนและแสวงหาความก้าวหน้าใหม่ๆในการพัฒนาต่อไป มันกลายเป็นเรื่องยากสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วที่จะใช้โอกาสในการจำกัดแผนการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศตะวันตกเองก็จำเป็นต้องแบกรับ "ความรับผิดชอบร่วมกันแต่มีความแตกต่างกัน" ขณะนี้เราได้เข้าสู่รอบที่สองของ "การทูตด้านสิ่งแวดล้อม" ซึ่งมีพื้นฐานแตกต่างไปจากรอบแรก: ประเทศที่พัฒนาแล้วไม่สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีของตนได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มกดดันให้ประเทศที่พัฒนาแล้วให้ดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง
เนื้อหาในรายงานนี้มาจากสื่อไทย:https://www.matichon.co.th/publicize/news_4401092
Have a romantic roasted goose feast
Profil Perusahaan SLKOR
Explore the mountains and seas, marvel at scientific and technological innovation! The side of Shenzhen that makes foreign tourists linger and forget to leave
การเปิดงานเทศกาลวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว "ชางกรีล่า" ครั้งที่สองของโลกใกล้เข้ามาแล้ว เชิญคุณมาร่วมงานที่ยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว
"Mount Lu, let it be the backing in your love"——The 5th Lushan International Romance Film Week Is Ta
中华关公文化″忠义”精神全球传播